เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 8. นิคัณฐสูตร
7. กากสูตร
ว่าด้วยอสัทธรรมของกา
[77] ภิกษุทั้งหลาย กาประกอบด้วยอสัทธรรม 10 ประการ
อสัทธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. มักกำจัด 2. คะนอง
3. ทะเยอทะยาน 4. กินจุ
5. หยาบช้า 6. ไม่มีกรุณา
7. อ่อนแอ 8. มักร้อง
9. หลงลืมสติ 10. สั่งสม

กาประกอบด้วยอสัทธรรม 10 ประการนี้แล ฉันใด
ภิกษุชั่วประกอบด้วยอสัทธรรม 10 ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อสัทธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. มักกำจัด1 2. คะนอง
3. ทะเยอทะยาน 4. กินจุ
5. หยาบช้า 6. ไม่มีกรุณา
7. อ่อนแอ 8. มักร้อง
9. หลงลืมสติ 10. สั่งสม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษชั่วประกอบด้วยอสัทธรรม 10 ประการนี้แล
กากสูตรที่ 7 จบ

8. นิคัณฐสูตร
ว่าด้วยอสัทธรรมของพวกนิครนถ์
[78] ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ประกอบด้วยอสัทธรรม 10 ประการ
อสัทธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
1 มักกำจัด ในที่นี้หมายถึงกำจัดคุณความดีของผู้อื่น ชอบใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น (องฺ.ทสก.อ. 3/77/360)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :176 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. อากังขวรรค 9. อาฆาตวัตถุสูตร
1. ไม่มีศรัทธา 2. ทุศีล
3. ไม่มีหิริ 4. ไม่มีโอตตัปปะ
5. ไม่ภักดีต่อสัตบุรุษ 6. ยกตนข่มท่าน
7. สละคืนความยึดมั่นถือมั่นด้วยทิฏฐิของตนได้ยาก
8. เป็นคนลวงโลก 9. ปรารถนาชั่ว
10. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ประกอบด้วยอสัทธรรม 10 ประการนี้แล
นิคัณฐสูตรที่ 8 จบ

9. อาฆาตวัตถุสูตร
ว่าด้วยอาฆาตวัตถุ
[79] ภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ(เหตุผูกอาฆาต) 10 ประการนี้
อาฆาตวัตถุ 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า
1. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์1แก่เรา
2. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่เรา
3. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่เรา
4. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
5. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
6. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
7. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
8. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา

เชิงอรรถ :
1 สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงความพินาศ เสียหาย ไม่เจริญ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/88-89/155)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :177 }